บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

บอกหนทาง “ออระหอย ออระหอย ออระหอย”


คำว่า “บอกหนทาง” นั้น ไม่ได้หมายความว่า มีคนมาถามทาง แล้วเราก็บอกทางให้เขาไป  “บอกหนทาง” ที่จะเขียนถึงในวันนี้  เป็นคำที่เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างในทางศาสนาพุทธของเรา

คำว่า “บอกหนทาง” นั้น  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ว่า “ก. เตือนสติให้ระลึกถึงคุณพระในขณะใกล้จะตาย.

ในหนังสือคำวัด (พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด) โดยพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ราชบัณฑิต) ปกแข็งสีเหลือง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ หน้า ๔๘๙ (ทั้งเล่มมี ๑๕๐๓ หน้า) พระเดชพระคุณท่านได้กล่าวไว้ว่า..

บอกหนทาง เป็นสำนวน หมายถึง การเตือนสติคนที่ใกล้จะตายให้นึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เพื่อให้ไปดี นิยมเรียกสั้นๆว่า บอกทาง … บอกหนทาง จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คนใกล้จะตายมีสติระลึกถึงความดีที่เคยทำไว้ ทำให้ไม่ หลงตาย

การ “บอกหนทาง” นี้ มีพุทธพจน์รองรับด้วยนะครับ  ก็คือข้อความที่ว่า "เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมมีทุคติเป็นที่หวัง เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว ย่อมมีสุคติเป็นที่หวัง"

คำที่ใช้ในการ “บอกหนทาง” ก็เป็นคำที่เรารู้กันโดยทั่วไป เช่นว่า พุทโธ พุทโธ อะระหังๆๆ  ส่วนใหญ่ ก็มักใช้บอกตอนที่คนแก่ผู้นั้นใกล้จะตายเต็มที่แล้ว

ยังไม่เคยพบเห็นว่า คนของป่อเต็กตึ้ง หรือร่วมกตัญญูจะไปบอกพวกที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว อาการร่อแร่ๆ ด้วยคำพูดดังกล่าว

ที่นี้ มันก็น่าสงสัยว่า การ “บอกหนทาง” นั้น มันได้ผลจริงไหม............. 

นักการเมืองที่โกงกินประเทศ  บรรดาพ่อค้าแม่ค้า บริษัทที่ขูดรีดคนซื้อ ผูกขาดการค้าขายไว้ในกำมือ ฯลฯ  พวกนี้  “บอกหนทาง” แล้วจะได้ผลหรือไม่

คนที่ทำความดีมาเป็นประจำ เกิดมาแล้วทำความชั่ว ความเลวน้อยมาก จำเป็นจะต้อง “บอกหนทาง” กับคนเหล่านี้หรือเปล่า...

ขอเล่าเรื่องประกอบก่อน  สงสัยว่าจะอ่านมาจากหนังสือโลกทิพย์  อ่านมานานแล้ว แต่จำประเด็นของเรื่องได้แม่นมาก

มีผู้หญิงแก่คนหนึ่ง สมมุติชื่อว่า “ยายมุ้ย”  แกมีอาการเอกทูต โททูต ตรีทูตแล้ว  บรรดาญาติโยมเห็นว่า สมควรที่จะเริ่มพิธีกรรม “บอกหนทาง” กันได้แล้ว

ตัวแทนของญาติก็จะเข้าไปกระซิบข้างๆ หูว่า “ออระหัง ออระหัง ออระหัง”  พิธีกรรมนี้ ท่านว่าห้ามเสียงดัง ห้ามตะโกน  ต้องกระซิบเท่านั้น

คงจะกลัวว่า คนแก่อาจจะช็อกตายไปเลย

ไม่รู้ว่า “ยายมุ้ย” แกหูตึงด้วย หรือแกได้ยินไม่ถนัด และแกคงชอบกินหอยมาตลอดชีวิตของแก แกก็เลยพูดว่า “ออระหอย ออระหอย ออระหอย

สันนิษฐานได้ว่า “ยายมุ้ย”  คงไปเกิดเป็นหอยเสียเป็นแน่แท้ และ การ “บอกหนทาง” ก็ใช้กับยายมุ้ยไม่ได้

เรื่องนี้ ในทางวิชาธรรมกายมีวิธีการ ที่มีประสิทธิภาพเฉียบขาดยิ่งกว่านั้น  หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้คำศัพท์ว่า “หลงตาย” เช่นเดียวกัน

หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่า ไม่ว่าเราจะสร้างบุญบารมีไว้ขนาดไหนก็ตาม แต่ถ้าตอนเข้าขั้นตรีทูตแล้ว นึกถึงดวงธรรมไม่ได้  ตายไปแล้วไปอบายภูมิก่อนเลย

บางคนก็อาจจะคิดว่า “ไม่เห็นเป็นไรเลย มีบุญอยู่แล้ว เดี๋ยวก็ได้ขึ้นสวรรค์เอง

ในความเป็นจริงมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น 

ใครก็ตาม เมื่อตกนรกไปแล้ว ไม่ว่าจะมีบุญมากขนาดไหน แต่สถานการณ์ของการตกนรก มันจะส่งผลให้ทำกรรมชั่วมากขึ้น มันก็เลยวนเวียนอยู่อย่างนั้นอีกนาน  กว่าที่จะหลุดออกมาได้

ด้วยหลักการดังกล่าว คุณลุงการุณย์ บุญมานุชจึงมีคำสั่งที่ห้ามยกเว้นว่า วิทยากรทั้งหลายจะต้องทำวิชา 18 กายอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง  คือ ก่อนนอนกับตื่นนอน

ถ้าเราทำได้แบบนี้ ก็เป็นการป้องกันการหลงตายได้ค่อนข้างจะแน่นอน

ที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น  เป็นตัวของเราเอง  ในกรณีที่เป็นคนอื่น อาจจะเป็นบรรดาญาติๆ เพื่อนๆ พ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายาย  ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และตายไปแล้ว จะทำยังไงดี

พวกที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็พยายามไปสอนวิชาธรรมกายให้ท่าน  หาหนทางเอาเองก็แล้วกัน  ผมไม่มีคำแนะนำให้  เพราะ แม่ผมเอง ท่านก็ไม่มาตามผม  ท่านก็ยังภาวนาพุทโธจนตาย

เมื่อสอนวิชาธรรมกายไม่ได้ ก็พยายามเอาเงินท่านมาทำบุญบ้าง จะใช้วิธีโอ้โลม ปฏิโลม หว่านล้อม อย่างไรก็ทำไป แต่อย่าขโมยเอาไปทำบุญโดยเด็ดขาด

คือ ต้องบอกให้ท่านรู้เรื่องว่าจะเอาเงินมาทำบุญนะ ท่านจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ยังดีกว่า

พวกที่เคยทำบุญด้วยกัน เมื่อตายไปแล้ว จะช่วยง่ายขึ้น ดังนั้น ต่อไปก็คือ พวกที่ตายไปแล้ว

วิชาธรรมกายนั้น สามารถช่วยคนที่ตายไปแล้วได้  วิธีการก็คือ เราต้องทำวิชาที่ไปอยู่ที่ตีนเขาพระสุเมรุ  แล้วก็เรียกชื่อคนเหล่านั้นมา

ด้วยอำนาจของกายธรรม อันศักดิ์เฉียบขาดกว่า มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะต้องมาหมด 

เมื่อมาแล้ว เราก็สอนวิชาธรรมกายให้เขา  นี่คือ การช่วยคนตายของวิชาธรรมกาย  ไม่มีการเอาบุญไปอัดให้ดื้อๆ อย่างที่มีคนโกหกกันอยู่

อย่างไรก็ดี  จากประสบการณ์ที่ช่วยคนตายมาแล้วเป็นจำนวนมาก เพราะ ส่วนใหญ่แล้ว คนที่จะทำการช่วยคนตายนั้น คือ คุณลุงการุณย์ บุญมานุช 

คุณลุงการุณย์ บุญมานุช ให้สิทธิผมเป็นกรณีพิเศษคือ จะถามอะไร จะให้ช่วยใคร คุณลุงไม่ปฏิเสธ ยินดีทำให้เป็นอย่างดี  คนอื่นๆ บางทีลุงไม่ทำให้

ดังนั้น วิทยากรที่รู้ๆ จะให้ผมเป็นคนขอให้ลุงช่วยแทน  ผมจึงมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาก

คนที่ตายไปแล้ว และให้คุณลุงช่วยจะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1- ช่วยไม่ได้  

พวกนี้มีน้อยมาก เขาจะปฏิเสธเลยว่า ช่วยเขาไม่ได้หรอก ทำกรรมชั่วมาเยอะมาก หนักมาก

2- ช่วยได้ แต่ก็ตกนรกอีก  

พวกนี้ ช่วยได้แล้ว แต่การที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมเลยในตอนมีชีวิตอยู่ จึงรักษาดวงธรรมไว้ไม่ได้ ก็ตกลงมาจากสวรรค์ชั้น 1 อีก 

อย่างไรก็ดี  การที่ตกลงมาอบายภูมิอีกนั้น  ไม่ได้ตกไปที่ชั้นเดิม จะดีขึ้นเพราะได้สร้างบุญบารมีไว้บ้างแล้ว

3- ช่วยได้ตามปกติ

พวกนี้มากสุด  บรรดาพวกที่ผมรู้จัก เพื่อนผม ญาติพี่น้องผม ก็ช่วยได้ทั้งหมด 

โดยสรุป

วิชาธรรมกายนั้น มีประสิทธิภาพสูงมาก ทั้งในตอนที่เรามีชีวิตอยู่ และตอนที่เราตายไปแล้ว  คนทุกคนที่ได้เรียนวิชาธรรมกาย มีพลังพลาดอย่างไร เราก็มีสิทธิที่จะช่วยได้

คนที่ยังไม่มีโอกาสเรียน ก็พยายามทำความรู้จักกับวิทยากรเอาไว้ก่อน เพราะ มีโอกาสรอดจากอบายภูมิ

เพื่อนอาจารย์ของผมบางคน  สังสรรค์กันเฉพาะในวงเหล้า วงเบียร์ ตายไปแล้ว ผมยังขอให้ลุงช่วย 

ท่านผู้นั้นเคยบอกลุงว่า “ถ้าไม่รู้จักดร. มนัส คงอยู่ในตกนรกตลอดไปแน่ๆ






ทำยังไงกับความตาย


โดยปกติแล้ว เด็กๆ มันจะไม่รู้จักกับความตาย  เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2557) น้องชายของผมตายเนื่องจากไวรัสจากสัตว์ปีกเข้าปอด  (นายนิพนธ์ โกมลฑา ตำแหน่งงานสุดท้ายคือ รองแขวงการทางจังหวัดพิจิตร)

วันที่ไปเผา เจอหลานปู่ของน้องชาย  อายุประมาณ 6 ขวบ เป็นเด็กผู้หญิง บ่นว่า “ปู่ตายแล้วใครจะไปเยี่ยมหนู”  โดยไม่เสียใจอะไรนัก เพราะ เด็กไม่รู้ว่า ความตายมันเป็นยังไง

สำหรับผมนั้น ผมรู้จักกับความตายแบบใกล้ชิดก็ตอนที่ “ก๋ง” หรือคุณตาของผมตาย ตอนนั้น ผมน่าจะเรียนอยู่ ป. 4  อายุก็ประมาณ 9 ขวบ

ก๋งมีลูก 5 คนเป็นผู้หญิงหมด แม่ผมเป็นคนโต  เมื่อลูกแต่งงาน และมีหลานรุ่นแรกจำนวน 3 คน ก็เป็นผู้หญิงหมดอีก 

คิดดูก็แล้วกันว่า ก๋งของผมจะผิดหวังขนาดไหน

ผมเป็นหลานชายคนแรกของก๋ง  ผมจึงเป็นที่รักสุดสวาทขาดใจ แต่ผมจำไม่ค่อยได้หรอก แม่เล่าให้ฟัง 

ก๋งอยู่กับอี๊จุ่น ก็อยู่ในตลาดเดียวกัน  ก๋งจึงอยู่คนละบ้านกับผม

อย่างที่ได้เล่าให้ฟังไปบ้างแล้ว ผมหนีโรงเรียนเป็นตั้งแต่ ป. 1  จึงเป็นที่เลื่องลือในหมู่บ้านของผมจนกระทั่งขณะนี้  จะมีใครที่ไหนอีก ที่สามารถหนีโรงเรียนเป็นตั้งแต่ ป. 1

ก๋งนี่แหละ.. มีหน้าที่เดินตามหาผม แล้วก็เอาเงินจ้างให้ไปโรงเรียน ผมจำเรื่องก๋งเอาเงินจ้างผมไม่ค่อยได้หรอก  เรื่องนี้แม่ก็เล่าให้ฟัง  

ผมจำก๋งได้ ตอนก๋งเมานั่นแหละ  ก๋งจะเมาแล้วก็เดินไปทั่วตลาด

ตอนนี้ ก๋งไปอยู่บนสวรรค์แล้ว คงภูมิใจพิลึก ที่ผมเรียนจบปริญญาเอก และเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้ 

ก๋งเอง เห็นผมหนีโรงเรียนเป็นตั้งแต่อยู่ ป. 1 คงไม่ได้คาดหวังว่า ผมจะได้ร่ำเรียนมาถึงขณะนี้

เมื่อก๋งตาย  ผมก็จึงต้องทำหน้าที่บวชเณรหน้าไฟ  ตอนนั้น ก๋งมีหลานผู้ชายหลายคนแล้ว มากกว่าหลานผู้หญิงเสียอีก  แต่คนอื่นมันไม่ยอมบวช ผมก็เลยบวชคนเดียว

นั่นแหละ ผมจึงรู้จักว่า “ความตาย” เป็นอย่างไร แต่ก็ไม่รู้เรื่องอะไรนักหนา ก็รู้ว่า ก๋งตายก็ต้องเผา เผาแล้ว เราก็ไม่ต้องเจอก๋งอีก

เมื่อเรียนหนังสือมากขึ้น อ่านหนังสือมากขึ้น ผมรู้จักความตายมากขึ้น แต่ก็ไม่เคยว่า “ผมจะตายเร็ว”  เป็นความคิดเข้าข้างตัวเองแบบไม่มีเหตุผล แต่คนทั้งประเทศก็คิดอย่างนี้กันทั้งนั้น 

ผมเป็นจิ๊กโก๋ เพื่อนไปหาเรื่องตีรันฟังแทงมาให้ตลอด ยิงกัน แทงกัน ผมอยู่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้มาตลอดชีวิตวัยรุ่น

แต่ผมก็ยังไม่ตาย และยังอยู่ดีมีสุขบ้าง ทุกข์บ้างมาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้  ทั้งๆ ที่มันน่าจะตายไปเสียตั้งนานแล้ว

โดยสรุป เรื่องความตายเกี่ยวกับตัวผม ผมคิดถูก แต่อีกหลายคนคิดผิด เพราะตายกันไปเยอะแล้ว เพื่อนของผมเองก็ตายไปหลายคนเหมือนกัน

ประเด็นที่คิดว่าตัวเองไม่ตายนี้ มีการวิจัยเกี่ยวกับเด็กแวนท์ ที่บิดมอเตอร์ไซค์กวนตีนชาวบ้านเขาไปเรื่อยนั้น  นักวิจัยถามว่า “ไม่กลัวตายหรือ เพราะมีคนตายอยู่ตลอดเวลา

กลุ่มตัวอย่างบอกว่า “รู้ว่ามีคนตายแบบนี้มาตลอด แต่ก็คิดว่าคงเป็นคนอื่น ตัวผมไม่ตาย

เมื่อมีอายุเข้ากลางคน ชักเริ่มคิดถึงความตาย และมีความห่วง

ห่วงว่าพ่อแม่จะอยู่อย่างไร ถ้าเราบังเอิญตายไป หวงลูกห่วงหลาน แต่ก็ยังคิดเข้าข้างตัวเองว่า “กูคงไม่ตายง่าย” 

ผมก็คิดถูกอีก  แต่อีกหลายคนก็คิดผิด เพราะ ตายกันไปอีกเยอะเหมือนกัน

ดังนั้น  เราควรจะมีท่าที่ต่อความตายอย่างไร

เราก็ต้องเริ่มต้นกับผู้อ่านบล็อกของผมนี่แหละ  เพราะ ไอ้ที่ตายไปแล้ว มันก็คงไม่มีโอกาสได้มาอ่านแน่ๆ

ไอ้ที่ยังมีชิวิตอยู่ และเพลิดเพลินอยู่กับชีวิต มันก็คงไม่มาอ่านบล็อกของผมอีกเช่นกัน ดังนั้น ก็ต้องปล่อยมันไป

ผมว่า เราควรจะคิดไว้ตลอดเวลาว่า “เราจะตายได้อยู่ทุกวัน ทุกเวลา นาที” ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นแหละ  และก็ควรจะเตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลา สำหรับความตายของเรา

แล้วจะทำอย่างไร

1- ทำตัวให้หมดห่วง

เรื่องนี้ ถ้าเป็นตัวคนเดียว พ่อแม่พี่น้องลูกหลานเพื่อนฝูงพากันชิงตายไปก่อนแล้ว มันก็พูดง่าย แต่ถ้าลูกยังเล็ก หลานยังมี กิ๊กยังเรียนหนังสืออยู่ ตรงนี้เริ่มคิดยาก

ขอให้คิดอย่างนี้ คนเราทุกคนมีกรรมเป็นของตนเองทั้งนั้น  แล้วบรรดาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงทั้งหลายนั้น มันไม่ได้เกิดมาเป็นญาติ เป็นเพื่อนกับเราเพียงชาติเดียวหรอก เกิดมาร่วมกันนับภาพนับชาติไม่ถ้วน

ชาตินี้เราตายไป เดี๋ยวชาติใหม่เราก็ต้องเจอกันอีก จนกว่าจะไปนิพพานนั่นแหละ ก่อนตายก็อาจจะคิดให้มันขำๆ ว่า  “ชาตินี้ทำไมกูตายเร็วขนาดนี้”.

ดร. ไบรอัน ไวส์ (Dr. Brian L. Weiss) นักจิตวิทยาที่ใช้การสะกิดจิตระลึกชาติรักษาคนก็บอกเช่นนั้น 

ดร. ไบรอัน คนนี้ ไม่เคยเอ่ยถึงศาสนาพุทธแบบเถรวาทในเมืองไทยในหนังสือของท่าน ก็อนุมานได้ว่า ท่านไม่รู้ศาสนาพุทธในเมืองไทย 

การศึกษาของท่าน ศึกษาแบบเป็นวิทยาศาสตร์ล้วนๆ

ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า เราเป็นเพื่อนกัน เราเป็นญาติกันหลายร้อยชาตินั้น ก็ต้องเชื่อถือได้ ศาสนาพุทธก็สอนอย่างนั้น  นักวิทยาศาสตร์ก็ว่าอย่างนั้น

ก็ทำให้หมดห่วงได้ว่า ถ้าเราตายเร็วไปแล้ว จะไม่ได้พบกันอีก

เมื่อคิดถึงอย่างนั้น ก็จงเตรียมตัวให้พร้อมในด้านอื่นๆ ด้วย  ถ้ามีทรัพย์สินมรดกมาก ก็เขียนพินัยกรรมไว้ให้ดี 

มีหนี้มีสิ้นก็ใช้กันให้หมดไปก่อน และไม่ควรไปก่อหนี้ไว้อีก

สอนลูกสอนหลานไว้ให้ทำความดี พยามยามให้ปฏิบัติธรรมไว้ด้วย ยิ่งวิชาธรรมกายยิ่งดีมาก เพราะ สามารถไปช่วยเราตอนตายไปแล้วได้  วิชาอื่นๆ ทำอย่างนี้ไม่ได้

2- ปฏิบัติธรรมทุกเวลาเมื่อว่าง

การปฏิบัติธรรมนี่ เท่าที่ติดตามอ่านพฤติกรรมของคนต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะทำเป็นเวลา สิ่งเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ  แต่ไม่ใช่ทำแค่นั้น

ขอยกตัวอย่างของผม

คุณลุงบังคับว่า วิทยากรต้องทำวิชาอย่างนั้น 2 ครั้ง คือ ก่อนนอนกับตื่นนอน  ใน 2 ครั้งนี้ต้องทำเต็มรูปแบบ คือ ต้องเริ่มตั้งแต่ ยะมะหัง สัมมาสัมพุทธัง........ ไปจนจบ 18 กาย  อันนี้ไฟท์บังคับ

แต่ในช่วงทำงานตามปกติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำด้วย  ครึ่งนาที  1 นาทีก็ควรทำ ทำบ่อยๆ ทำถี่ๆ  อย่างผมนี้ ผมกำลังเขียนบล็อกอยู่นี้ ระหว่างรอหน้าจอ รอเวลา ผมก็จะหลับตามทำไปเรื่อยๆ ทั้งวัน

ทำไมต้องทำอย่างนี้ด้วย

ก็เราไม่รู้ว่า เราจะตายวันไหน เวลาไหน

ลองจินตนาการให้แง่ร้ายสุดๆ สมมุติว่า เราอยู่ในสายการบินลาว ซึ่งลงไปในแม่น้ำโขง (มีคนไทย 5 คน) ก่อนเราจะตาย มันก็ต้องมีเวลาเหลืออยู่

ตอนนี้ ถ้าเราตกใจไปกับเหตุการณ์ ซึ่งใครมันก็ต้องตกใจทั้งนั้น  เราไปนรกแน่ๆ เพราะ หลงตาย แต่ถ้าเราตั้งสติได้ว่า อีคราวนี้กูตายแน่ พญานาคคงไม่มาช่วยกูแน่

เราก็ฝึกสมาธิเลย ทำใจให้สงบ เราก็อาจจะไปสุคติภูมิได้  ดีไม่ดี พญานาคอาจจะมาช่วยเราก็ได้






เผชิญความตายอย่างสงบ




ผมติดตามการอบรม “เผชิญความตายอย่างสงบ” มาระยะหนึ่งแล้ว  รู้สึกอเนจอนาถในการทำงานของเครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย และเสมสิกขาลัย เพราะ ทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง

การอบรมเผชิญความตายอย่างสงบนั้น สังคมไทย ประเทศไทย ศาสนาพุทธเถรวาทของไทย มีวิธีการของเราเอง พวกนี้ทะลึ่งไปเอาของนอกมาใช้ทั้งนั้น ใช้หลักการอบรมของฝรั่ง แล้วไปใช้การฝึกสมาธิแบบธิเบต

ถ้าของไทยมันไม่ดีกว่า ผมก็ไม่ว่าอะไร นี่ของไทยดีกว่าแท้ๆ เสือกทะลึ่งไปเอาของนอกมาใช้ ก็ไม่รู้ว่าจะพกความโง่กันไปถึงไหน

พวกนี้ มันเป็นพวก “ดูถูกองค์ความรู้ของไทย”  ความรู้จากเมืองนอกไม่ว่า มันจะมั่วขนาดไหน ไม่มีเหตุไม่มีผลขนาดไหน พวกนี้ก็หาว่าดี  

ลองอ่านเนื้อหาที่เขาเอามาเผยแพร่กันดู

วิทยากรในการอบรมครั้งนี้ได้แก่ พระไพศาล วิสาโล นายแพทย์พรเลิศ ฉัตรแก้ว อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช ดร . วิชิต เปานิล และปรีดา เรืองวิชาธร โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมกว่า 30 คน

ราวหนึ่งในสามเป็นแพทย์และพยาบาลทั้งจากโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน ที่เหลือเป็นผู้สนใจซึ่งต่างที่มาต่างอาชีพ

อาทิ เจ้าของกิจการทำทองรูปพรรณ พนักงานบัญชี มัคคุเทศก์ นักเขียนอิสระ แม่บ้าน นักนิเวศวิทยา พนักงานขายประกัน ฯลฯ

บ้างสนใจสมัครเข้าร่วมเอง บ้างเพื่อนชักชวนมา พาคุณแม่มา ถูกลูกๆ ส่งมา มาเพราะคนใกล้ชิดกำลังป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย และบางคนกำลังป่วยด้วยโรคร้ายแรง

พระไพศาลเล่าอย่างอารมณ์ดีในการเกริ่น นำการอบรมครั้งที่สอง ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า

“หลายคนบอกให้เราเปลี่ยนชื่อการอบรม เพราะฟังดูน่ากลัว หดหู่ แต่เราบอกเราจะเอาชื่อนี้ เพราะความตายถูกทำให้เป็นเรื่องอุจาด อัปมงคลมามกแล้ว เราเลยไม่พูดไม่จา ไม่สอน กลายเป็นเรื่องหลบๆ ซ่อนๆ  

ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าเรารู้จักความตายดีพอ จะพบว่ามันไม่ได้มีด้านลบด่านเดียว

ถ้าเราสามารถเป็นเพื่อนกับความตายได้ ชีวิตเราจะมีความสุขมาก และความตายของแต่ละคนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ละคนตายไม่เหมือนกัน ความตายจึงไม่มีคำตอบสำเร็จรูป”


การอบรมเผชิญความตายอย่างสงบดู คือ การฝึกโพวะ/ทองเลนของธิเบต ลองมาอ่านกันดูเลยว่า จะดีเลิศประเสริฐศรีขนาดไหน






จะเห็นว่า การฝึกวิชาธรรมกายดีกว่าอย่างที่ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร  เป็นของไทยแท้ๆ ด้วย สะดวก สอนกันได้ทุกที่  วิทยากรมีมากมายมหาศาล

วิธีการง่ายๆ เลยก็คือ  เราควรฝึกวิชาธรรมกายแบบมาตรฐานก่อน  ดูตามวิดิโอด้านบนก็ได้ 

เมื่อทำเป็นแล้ว  เมื่อนอนลงไป เราก็จินตนาการเอาดวงไปตามฐาน  สุดท้ายก็เอาใจไปหยุดไว้ที่ฐานที่ 7

ในการปฏิบัตินั้น เมื่อจิตใจนิ่งดีแล้ว เราไม่รู้สึกแตกต่างระหว่างการนอนทำ หรือนั่งทำ  คือ เราจะรู้สึกว่า เหมือนเรานั่งทำ

ทำอย่างนั้น ถ้ายังไม่เห็นดวงใส ก็ให้คิดว่า  “ถ้าไม่ทำแบบนี้ จิตก็ต้องไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้  ทำแบบนี้เสียดีกว่า

บางครั้งจิตมันอยากจะไปคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้บ้าง ก็ปล่อยให้มันคิดบ้าง แต่พยายามเตือนใจอยู่เสมอว่า เมื่อคิดเรื่องอื่นพอสมควร แล้วก็ให้กลับมานึกให้เห็นดวงใสที่ฐานที่ 7 อีก

ทำไปจนกว่าจะหลับ


พวกคนไทยแต่ตัว  แต่ใจเป็นของนอกพวกนี้  ตายไปก็ไปอบายภูมิกันทั้งนั้น  แล้วจะรู้ตัวหลังตายทั้งวิทยากรและคนฝึกว่า  กูไม่น่าไปเสียเวลาอบรมกับพวกนี้เลย